ค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

                                           เรื่องประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
 
                          โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. โครงงานประเภทการทดลอง
          เด่นของโครงงานประเภทนี้คือ เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อแปรอีก ตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่จะต้องการศึกษาเอาไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง โครงงานที่จะจัดเป็นโครงงานประเภทการทดลองได้ จะต้องเป็นโครงงานที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้น หรือเรียกอกอย่างหนึ่งว่า ตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตาม (ผลที่ต้องการ) และควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม้ต้องการศึกษา โดยทั่วไป ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การตั้งจุดมุ่งหมาย สมมติฐาน การกำหนดตัวแปรต่าง การออกแบบการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง การแปรผลและการสรุปผล


 2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวม
          ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูลนี้ ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
             การสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การออกไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งในบางครั้ง บางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการในท้องถิ่น หรือในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ในขณะที่ออกไปปฏิบัติการนั้นโดยไม่ต้องนำวัตถุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ใน ห้องปฏิบัติการอีก ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ได้แก่
     - การสำรวจประชากรและชนิดของสิ่งต่างๆ เช่น สัตว์ พืช หิน แร่ ฯลฯ ในท้องถิ่น หรือในบริเวณที่ต้องการศึกษา
- การสำรวจพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของสัตว์ในธรรมชาติ
- การสำรวจทิศทางและอัตราเร็วลมในท้องถิ่น
- การสำรวจการผุกร่อนของสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินอ่อนในแหล่งต่างๆ ฯลฯ ในบางครั้งการออกภาคสนามก็เพื่อไปเก็บวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เพราะไม่สามารถที่จะวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลได้ทันที ในขณะออกไปปฏิบัติการภาคสนาม ตัวย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
- การสำรวจคุณภาพน้ำ เช่น ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ค่า BOD ฯลฯ แหล่งน้ำต่างๆ ที่ต้องการศึกษา เช่น บริเวณใกล้ๆ โรงงานน้ำอัดลม โรงงานผลิตสุรา ฯลฯ
- การศึกษาสมบัติ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ของสารต่างๆที่สกัดได้จากวัสดุหรือพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่ต้องการศึกษา
- การสำรวจคุณภาพของดิน เช่น ความชื้น ปริมาณสารอินทรีย์ ความเป็นกรด เบส จากแหล่งต่างๆ ที่ต้องการศึกษา
- การศึกษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหล่งต่างๆ ฯลฯ ในการสำรวจรวบรวมข้อมูลบางอย่างแทนที่จะต้องอออกไปสำรวจตามธรรมชาติบางครั้ง ก็อาจจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการแล้วสังเกต และศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ ในธรรมชาติจำลองนั้นๆ เช่น
     - การศึกษาวงจรชีวิตไหมที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
     - การศึกษาพฤติกรรมของมดที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ

3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
           ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มา ประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดประดิษฐ์สิ่งของใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึง การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวความคิดต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ปัญหาต่างๆ

4. โครงงานประเภททฤษฎี
           เป็นโครงงานเกี่ยวกับการนำเสนอ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบายโดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการแนวความคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกา หรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกา หรือข้อตกลงอันเดิมมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในแนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ แนวความคิดหรือจินตนาการที่เสนอนี้อาจจะใหม่ไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือแนวความคิดเดิมก็ได้ การทำโครงงานประเภทนี้ จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ หรืออาจทำได้โดยสร้างเครื่องมือขึ้นประกอบการอธิบาย โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้จัดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือโครงงานทาง คณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

แจ้งการนัดหมายการสอบกลางภาค

แจ้งการนัดหมายการสอบกลางภาค
รายวิชาเลือก โครงงาน ของนักเรียนชั้น ม.2 ม.3 ม.5

          จากที่เคยแจ้งนักเรียนเรื่องการสอบกลางภาคไว้ในตารางนัดหมายการเรียน จากสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม แต่ด้วยสัปดาห์ที่ 2 นั้น มีการสอบกลางภาคของรายวิชาอื่น จึงให้เลื่อนการสอบของวิชานี้ไปเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคมแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ม.2          สอบ Present วันที่ 12-16-19 มกราคม
ม.3          สอบ Present วันที่ 16 มกราคม
ม.5          สอบ Present วันที่ 16-17 มกราคม

** การนำเสนอ ให้ใช้โปรแกรม Power point เป็นหลัก และ/หรืออาจมีกาีรเสริมด้วยบอร์ดโครงงานหรือชิ้นงานประกอบการนำเสนอได้ตามสะดวก **


*** หากเลยกำหนดสอบ นักเรียนคนไหนที่ยังไม่ได้สอบกลางภาค จะไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาค***






วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานฯ ตอนที่ 4

                   รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์


                                                 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
                                                                จัดทำโดย
                 สาขาโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
               สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ

................................................................................................................................................................................................................................


     2.  การเขียนเอกสารอ้างอิง และ/หรือ บรรณานุกรม
          การพิมพ์รายการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิง และ/ หรือบรรณานุกรม ไม่ว่าจะใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปีหรือแบบตัวเลข ให้ใช้รูปแบบการพิมพ์แบบเดียวกันตลอดเล่ม โดยเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง จาก 2 แบบ นี้
          แบบที่ 1  ปีที่พิมพ์อยู่ท้ายรายการ
          แบบที่ 2  ปีที่พิมพ์อยู่หลังชื่อผู้แต่ง (ใส่วงเล็บหรือไม่ใส่ก็ได้)
          ในที่นี้ได้ให้ตัวอย่างรูปแบบการพิมพ์รายการอ้างอิงและตัวอย่างการพิมพ์รายการอ้างอิงเฉพาะแบบที่ 1 ส่วนผู้ที่ประสงค์จะใช้แบบที่ 2 ก็ให้ใช้แบบเดียวกัน เพียงแต่ย้ายปีที่พิมพ์ มาไว้หลังชื่อผู้แต่งเท่านั้น
 

ภาษาไทย
 
(หนังสือ)

     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือ.\\ เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).\\ ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).\\ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่(ถ้ามี).\\สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(หนังสือที่พิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือ.\\ เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).\\ ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).\\ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่(ถ้ามี).\\สถานที่ พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.\\ (รายละเอียดในการจัดพิมพ์หนังสือ).
(หนังสือแปล)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง.\\แปลโดย ชื่อผู้แปล.\\สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(วิทยานิพนธ์)
     ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.\\ ชื่อวิทยานิพนธ์.\\ ระดับปริญญา.\\ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ ชื่อมหาวิทยาลัย,\ปีพิมพ์.
(บทความในหนังสือ)
     ผู้เขียนบทความ.\\ ชื่อบทความ.\\ใน\ชื่อบรรณาธิการ(ถ้ามี), \ชื่อเรื่อง,\เลขหน้า.\\สถานที่พิมพ์\:\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(บทความในวารสาร)
     ผู้เขียนบทความ.\\ ชื่อบทความ.\\ ชื่อวารสาร\ ปีที่หรือเล่มที่ \(เดือน ปี)\ :\เลขหน้า.
(บทความในหนังสือพิมพ์)
     ผู้เขียนบทความ(ถ้ามี).\\ ชื่อบทความ.\\ ชื่อหนังสือพิมพ์\ (วัน เดือน ปี) \:\เลขหน้า.
(บทความในสารานุกรม)
     ผู้เขียนบทความ.\\ ชื่อบทความ.\\ ชื่อสารานุกรม\ เล่มที่ \(ปีพิมพ์)\ :\เลขหน้า.
(บทวิจารณ์หนังสือในวารสาร)
     ผู้เขียนบทวิจารณ์.\\วิจารณ์เรื่อง\ ชื่อหนังสือที่วิจารณ์.\\โดย\ ชื่อผู้แต่งหนังสือ.\\ ชื่อวารสาร\:\เลขหน้า.ปีที่หรือเล่มที่\ (เดือน ปี)
(วารสารสาระสังเขปของวิทยานิพนธ์)
     ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.\\ ชื่อวิทยานิพนธ์.\\ ระดับปริญญา.\\ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ ชื่อมหาวิทยาลัย,\ปีพิมพ์.\\ชื่อแหล่งที่มาของสาระสังเขป.
(วารสารสาระสังเขปของบทความ)
     ผู้เขียนบทความ.\\ ชื่อบทความ.\\ ชื่อวารสาร\ ปีที่หรือเล่มที่ \(เดือน ปี)\ :\เลขหน้า.\\ชื่อแหล่งที่มาของสาระสังเขป.
(รายงานการประชุมทางวิชาการ)
     ผู้เขียนบทความ.\\ ชื่อบทความ.\\ใน\ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม(ถ้ามี), \ชื่อรายงานการประชุมทางวิชาการ,\เลขหน้า.\\สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(เอกสารอัดสำเนา จุลสาร เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อเรื่อง.\\สถานที่พิมพ์\:\หน่วยงานที่รับผิดชอบ,\ปีพิมพ์.\\ (เอกสารอัดสำเนา หรือเอกสารไม่ตีพิมพ์)
(เอกสารที่อ้างถึงในเอกสารอื่น)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อเรื่องเอกสารอันดับแรก.\\สถานที่พิมพ์\:\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.\\อ้างถึงใน ผู้แต่ง.\\ ชื่อเรื่องเอกสารอันดับรอง.\\สถานที่พิมพ์\:\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.\\เลขหน้า.

(การสัมภาษณ์)
     ผู้ให้สัมภาษณ์.\\ ตำแหน่ง (ถ้ามี).\\ สัมภาษณ์,\วัน เดือน ปี.
(โสตทัศนวัสดุ)
     ชื่อผู้จัดทำ.\\(หน้าที่ที่รับผิดชอบ-ถ้ามี).\\ชื่อเรื่อง\ [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ].\\ สถานที่ผลิต\:\หน่วยงานที่เผยแพร่,\ปีที่เผยแพร่.
(สื่ออิเล็กทรอนิกส์)
     ชื่อผู้รับผิดชอบหลัก.\\ ชื่อแฟ้มข้อมูล (หรือชื่อโปรแกรม) [ประเภทของสื่อ].\\ สถานที่ผลิต\:\ชื่อผู้ผลิตหรือผู้เผยแพร่,\ปีที่จัดทำ.\\แหล่งที่มา\:\ชื่อของแหล่งที่มา\ชื่อแหล่งย่อย[วัน เดือน ปีที่เข้าถึงข้อมูล].


ภาษาอังกฤษ

(หนังสือ)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือ.\\ เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).\\ ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).\\ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่(ถ้ามี).\\สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(หนังสือที่พิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือ.\\ เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).\\ ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).\\ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่(ถ้ามี).สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.\\ (รายละเอียดในการจัดพิมพ์หนังสือ).
(หนังสือแปล)
     ผู้แต่ง.\\ ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง.\\แปลโดย ชื่อผู้แปล.\\สถานที่พิมพ์ :\สำนักพิมพ์,\ปีพิมพ์.
(วิทยานิพนธ์)
     ผู้เขียนวิทยานิพนธ์.\\ ชื่อวิทยานิพนธ์.\\ ระดับปริญญา.\\ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ
ชื่อมหาวิทยาลัย,\ปีพิมพ์.
 

หมายเหตุ 
     1.  เครื่องหมาย \ แต่ละขีด หมายถึงให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร (1 เคาะ)
     2.  ถ้าอ้างอิงแบบตัวเลขให้พิมพ์ตัวเลข อยู่ใน ( ) หรือ [ ] หน้ารายการ เรียงตามลำดับตัวเลขที่อ้างอิง โดยไม่ต้องแยกรายการเป็นภาษาไทย กับ ภาษาอังกฤษ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานฯ ตอนที่ 3

                  รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์


                                                 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
                                                                จัดทำโดย
                 สาขาโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
               สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ

................................................................................................................................................................................................................................


การพิมพ์หัวข้อย่อย
 
           การพิมพ์หัวข้อย่อยอาจใช้ตัวอักษรกำกับหน้าหัวข้อสลับกับตัวเลข หรือใช้ตัวเลขอย่างเดียวดังตัวอย่างต่อไปนี้ โดยกำหนดให้ ** หมายถึง เว้น 2 ช่วงตัวอักษร


          แบบที่ 1     ใช้ตัวอักษรกำกับสลับกับตัวเลข
                            ประเทศไทย (หัวข้อหลัก)
                            ก** ลักษณะภูมิประเทศ (หัวข้อย่อย)
                                  1** ภาคเหนือ
                                        ก** ภาคเหนือตอนบน
                                        ข** ภาคเหนือตอนล่าง
                                  2** ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          แบบที่ 2     ใช้ตัวเลขกำกับอย่างเดียว
                            ประเทศไทย (หัวข้อหลัก)
                            1** ลักษณะภูมิประเทศ (หัวข้อย่อย)
                                  1.1** ภาคเหนือ
                                           1.1.1** ภาคเหนือตอนบน
                                           1.1.2** ภาคเหนือตอนล่าง
                                  1.2** ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 

          
          การพิมพ์หัวข้อย่อยให้พิมพ์ย่อหน้าโดยเว้นระยะให้ตรงกับตัวอักษรตัวแรกของชื่อข้อความของหัวข้อสำคัญนั้น

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

 
การเขียนรายการอ้างอิงมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ช่วยแบ่งข้อความดังนี้
 

          +  เครื่องหมายมหัพภาค (. point) ใช้ในกรณีต่อไปนี้

               -  เมื่อเขียนย่อชื่อแรกหรือชื่อกลางของผู้แต่งชาวต่างประเทศ เช่น Hodgkiss, A. G.
               -  ไว้ท้ายคำที่ย่อ เช่น ed.
               -  เมื่อจบแต่ละข้อความ (เช่น ผู้แต่ง ปีพิมพ์ ชื่อเรื่อง ฯลฯ) ในรายการอ้างอิงนั้น เช่น Hodgkiss, A. G. (1981). Understanding maps. Dawson, Folkestone, UK.
 

          +  เครื่องหมายจุลภาค (, comma) ใช้ในกรณีต่อไปนี้

              -  ใช้คั่นระหว่างชื่อและบรรดาศักดิ์ของผู้แต่งชาวไทยหรือชื่อสกุลและชื่อตัวของ ผู้แต่งชาวต่างประเทศ 

                  เช่น  Renolds, F. F.
                         ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา.

              -  ใช้คั่นระหว่าง ชื่อผู้แต่ง เมื่อมีผู้แต่งมากกว่า 1 คน
                  เช่น  สุธรรม พงศ์สำราญ, วิรัช ณ สงขลา และพึงใจ พึ่งพานิช.
                          Hanson, H., Borlaug, N. E., and Anderson, R. G. 

              - ใช้คั่นระหว่างสำนักพิมพ์และปีพิมพ์ ถ้าเขียนรายการอ้างอิงตามแบบที่ 1
                 เช่น สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
                       Wiley, 1965.

 
          +  เครื่องหมายอัฒภาค (; semi-colon)

 
              - ใช้เมื่อในข้อความส่วนนั้นได้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) แล้ว 

                 เช่น เมื่อเขียนชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ เป็นภาษาไทยหลายๆ คน เช่น แน้ช, จอร์ช; วอลดอร์ฟ, แดน; และ ไรซ์, โรเบิร์ต อี. มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง.
                แปลโดย อัปสร ทรัยอัน และคนอื่นๆ . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา, 2518.

 
          +  เครื่องหมายมหัพภาคคู่ (: colons)

 
              - ใช้คั่นระหว่างสถานที่พิมพ์ (ชื่อเมือง ชื่อรัฐ) และชื่อสำนักพิมพ์
                เช่น New York: Wiley
                      St. Louis, MO: Mosby
              - ใช้คั่นระหว่าง ปีที่ หรือ เล่มที่ ของวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม และเลขหน้า
                เช่น 16 (เมษายน 2519): 231-254.
                      37 (1979): 1239-1248. (แบบที่ 1)
                      37 : 1239-1248. (แบบที่ 2)


การอ้างอิง (reference citation)

 
            ระบบการอ้างอิงในการเขียนรายงานโครงงาน แนะนำให้ใช้แบบนาม-ปี หรือแบบตัวเลข ทั้งการเขียนอ้างอิงในส่วนเนื้อหา (บทที่ 1 2 และ 5) และการเขียนเอกสารอ้างอิง และ/หรือ บรรณานุกรม โดยการลงรายการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงให้พิมพ์เฉพาะเอกสารทุกรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาของโครงงานเท่านั้น ถ้ามีเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ได้นำมาอ้างอิง และผู้เขียนประสงค์นำมารวมด้วย ให้พิมพ์ต่อจากเอกสารอ้างอิง โดยขึ้นหน้าใหม่และใช้คำว่าบรรณานุกรม


      1.  การเขียนอ้างอิงในส่วนเนื้อหา
          1.1  การอ้างอิงแบบตัวเลข (the numerical arrangement system)

                 การอ้างอิงแบบนี้เป็นการระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาโครงงานเป็นหมายเลขเรียงลำดับต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งเล่ม โดยมีวิธีการดังนี้
                 1)  ใส่หมายเลขไว้ท้ายข้อความหรือชื่อบุคคลที่อ้างอิง โดยใส่ไว้ในวงเล็บ ( ) หรือ [ ] ให้ตัวเลขอยู่ในบรรทัดเดียวกับเนื้อหา หรือยกลอยขึ้นเหนือแนวบรรทัด เพื่อให้เด่นชัดต่างไปจากการใส่เลขประจำหัวข้อย่อยอื่นๆ และพิมพ์ด้วยตัวหนา หรือตัวเอน ทั้งนี้ ต้องใช้ให้เหมือนกันตลอดรายงาน
                 2)  ให้ใส่ตัวเลขอ้างอิงเรียงลำดับตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไปต่อเนื่องกันทุกบทจนจบเล่ม
                 3)  ในกรณีที่มีการอ้างอิงซ้ำเรื่องเดิมให้ใช้ตัวเลขเดิมที่เคยใช้อ้างมาก่อนแล้ว
                 4)  แหล่งอ้างอิงทั้งหมดที่ใช้ ต้องนำไปเขียนไว้ในเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม โดยใส่รายการเรียงตามลำดับหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) หรือ [ ]


          1.2  การอ้างอิงแบบนาม-ปี (the author-date system)
                 การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการระบุแหล่งอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาโครงงานโดยระบุชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ ไว้ในวงเล็บ กรณีอ้างเนื้อหาหรือแนวคิดหรือคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ต้องระบุเลขหน้า ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมาย : โดยรูปแบบวิธีการเขียนอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นดังนี้
                 1)  การเขียนปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่เอกสารได้รับการตีพิมพ์ มีแนวการเขียนดังนี้ 

                      ภาษาที่ใช้ทำรายงาน          เอกสารที่ใช้อ้างอิง          ให้พิมพ์ปีแบบ
                      ภาษาไทย                              ภาษาไทย                          พ.ศ.
                      ภาษาไทย                              ภาษาอังกฤษ                      ค.ศ.
                      ภาษาอังกฤษ                          ภาษาไทย                          ค.ศ. โดยแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 

                 2)  การเขียนนามผู้แต่ง
                        นามผู้แต่งชาวไทย แม้จะเขียนด้วยภาษาอังกฤษก็ให้เขียนทั้งชื่อและนามสกุล โดยเขียนชื่อก่อน ถ้าเป็นชาวต่างชาติ ใส่เฉพาะนามสกุล กรณีผู้แต่งใช้นามแฝง ให้เขียนตามที่ปรากฎ
                        ไม่ต้องใส่ยศทางทหาร ตำรวจ หรือตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ศ. รศ. ผศ. หรือคำเรียกทางวิชาชีพ เช่น นพ. ทพญ. เภสัชกร เว้นแต่จะเป็นผู้มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ เท่านั้น เช่น กรมหมื่น พระยา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน ม.ล.
                       การเขียนในเนื้อหาอาจเขียนโดย แบบ ชื่อ นามสกุล (ปีที่พิมพ์) …เนื้อหาที่อ้างอิง… หรือแบบ …เนื้อหาที่อ้างอิง... (ชื่อ นามสกุล, ปีที่พิมพ์)
                      •  กรณีผู้แต่งเป็นคนไทยคนเดียว สามารถเขียนได้ดังนี้
                         (ตัวอย่าง 1) พรชัย อินทร์ฉาย (2549) ศึกษาว่า… / พบว่า … / รายงานว่า …
                         (ตัวอย่าง 2) ……..(เนื้อหาที่อ้างอิง)…….(พรชัย อินทร์ฉาย, 2549)
                         ในกรณีที่อ้างถึงงานนั้นซ้ำอีกครั้ง หลังจากเพิ่งกล่าวถึงมาไม่นาน สามารถเขียนได้ดังนี้
                         (ตัวอย่าง 3) พรชัย อินทร์ฉาย (2549) ศึกษา…….. สุวิมล จรูญโสตร์ (2552) อธิบายถึง……… ซึ่งจากงานวิจัยของ พรชัย อินทร์ฉาย และ สุวิมล จรูญโสตร์ ต่างสรุปตรงกันว่า …

                      •  กรณีผู้แต่งเป็นคนต่างชาติคนเดียว สามารถเขียนได้ 2 วิธี คือ ระบุชื่อเป็นภาษาต่างประเทศในเนื้อความ และระบุปีที่พิมพ์ในวงเล็บ หรือ ระบุชื่อเป็นภาษาไทยในเนื้อความก่อน แล้ววงเล็บชื่อภาษาต่างประเทศและปีที่พิมพ์
                         (ตัวอย่าง 4) John (2002 a: 4-5) เตรียมสารสกัดหยาบ ….ด้วยวิธีการ….
                         (ตัวอย่าง 5) ริชาร์ด (Richard, 2003: 134) ให้ความเห็นว่า……(เนื้อหาที่อ้างอิง)……..

                        กรณีผู้แต่งคนเดียว เขียนเอกสารเรื่องเดียวแต่มีหลายเล่มให้ระบุหมายเลขเล่มที่อ้างถึงด้วย
                         (ตัวอย่าง 6) ……(เนื้อหาที่อ้างอิง)….(สุภาพร สุกสีเหลือง, 2547, เล่ม 2)
                         (ตัวอย่าง 7) ……(เนื้อหาที่อ้างอิง)….(David, 2004, vol.3)
 

                        กรณีผู้แต่ง 2 คน ต้องระบุชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำ และ หรือ and เชื่อมนามผู้แต่ง ดังนี้
                         (ตัวอย่าง 8) พรชัย อินทร์ฉาย และ สุวิมล จรูญโสตร์ (2549) ศึกษา … พบว่า… Roseและ Katy (2001) แสดงให้เห็นว่า…
                         (ตัวอย่าง 9) จากการศึกษาสมบัติของสารสกัด…. พบว่า…….(John amd David, 2549)

                      •  กรณีผู้แต่ง 3 คน ครั้งแรกที่อ้างถึงต้องระบุชื่อผู้แต่งทุกคน อ้างครั้งต่อไปให้ระบุเฉพาะคนแรก ตามด้วยคำว่า และคณะ หรือ และคนอื่นๆ สำหรับเอกสารภาษาไทย ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษให้ตามด้วย et al. หรือ and others ยกเว้น ถ้าเอกสารสองเรื่องที่อ้างครั้งต่อมา เมื่อเขียนย่อแล้วเหมือนกับรายการอ้างอิงอื่น ทำให้สับสน ให้เขียนเต็มดังตัวอย่างที่ 12
                         (ตัวอย่าง 10) พรชัย อินทร์ฉาย และคณะ (2549) ศึกษา … พบว่า… หรือ…..เนื้อหาอ้างอิง….. (พรชัย อินทร์ฉาย และคณะ, 2549)
                         (ตัวอย่าง 11) …..เนื้อหาอ้างอิง….. (John, et al., 2001)
                         (ตัวอย่าง 12) John, Kane, and Susan (2001)… เขียนย่อได้เป็น (John, et al., 2001) 

                                              John, Arter, and Wiley (2001)… เขียนย่อได้เป็น (John, et al., 2001)
                        กรณีผู้แต่งมากกว่า 3 คน การอ้างถึงทุกครั้งให้ระบุเฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่าและคณะ หรือ และคนอื่นๆ สำหรับเอกสารภาษาไทย ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ตามด้วย et al. หรือ and others ยกเว้น ถ้าเอกสารสองเรื่องที่อ้าง เมื่อเขียนย่อแล้วเหมือนหรือคล้ายกับรายการอ้างอิงอื่น ดังนั้น ให้ระบุผู้แต่งคนอื่นเรียงมาจนกว่าจะมีชื่อผู้แต่งที่ไม่ซ้ำกัน เช่น
                         John, Kane, Susan, Arter, Wiley, Sony, and Kino (2004) และ
                         John, Kane, Susan, Arter, Nisson, and Toyo (2004) ให้เขียนอ้างในเนื้อความดังนี้
                         John, Kane, Susan, Arter, Wiley, et al. (2004) ………………………… และ
                         John, Kane, Susan, Arter, Nisson, et al., (2004)………………………..
                        กรณีผู้แต่งเป็นสถาบัน ที่มีชื่อย่อเป็นทางการ ให้ระบุชื่อย่อไว้ในวงเล็บ [ ] ซึ่งเมื่ออ้างซ้ำให้ใช้ชื่อย่อได้ แต่ถ้าไม่มีชื่อย่อ การอ้างครั้งต่อๆ มาให้ระบุชื่อสถาบันเต็มทุกครั้ง และในการอ้างต้องมิให้ผู้อ่านสับสนระหว่างสถาบันที่อ้างถึงกับสถาบันอื่นๆ โดยลำดับในการอ้างถึงหน่วยงานรัฐบาล ต้องอ้างตามเป็นลำดับตามระดับชั้นของหน่วยงาน เช่น กระทรวง กรม คณะ สำนัก เป็นต้น 


                         การอ้างครั้งแรก                                                        การอ้างครั้งต่อมา
(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.], 2550: 30)     (สสวท., 2550: 30)
(Asian Institute of Technology [AIT], 2003: 20)                                        (AIT, 2003: 20) 

                        กรณีอ้างถึงเอกสารหลายเรื่องที่มีผู้แต่งคนเดียวกัน แต่พิมพ์ในปีต่างๆ กัน ให้ระบุชื่อผู้แต่งครั้งเดียวแล้วระบุปีที่พิมพ์ตามลำดับ โดยคั่นระหว่างปีด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) 
                          เช่น  (พรชัย อินทร์ฉาย, 2516: 54-70, 2520: 18-30, 2549: 16-28)
                                 (Busy and Gena, 1980: 56, 2001: 156)
 

                         ถ้าอ้างเอกสารหลายเรื่อง ที่เขียนโดยคนเดียวกัน แต่ปีที่พิมพ์ซ้ำกัน ให้ใช้ a b c d ตามหลังปีที่พิมพ์สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ และใช้ ก ข ค ง สำหรับเอกสารภาษาไทย
                         (พรชัย อินทร์ฉาย, 2549ก: 54)
                         (สุวิมล จรูญโสตร์, 2550ก: 3-30, 2550ข: 65)
                         (Susan et al., 1980a: 4, 1980b: 4, 1980b: 10, 1980c: 18)

                        กรณีอ้างเอกสารหลายเรื่องโดยผู้แต่งหลายคน มีวิธีเขียน 2 วิธี เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งให้เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม ดังนี้
                         1)  ให้ระบุชื่อผู้แต่งโดยเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามด้วย ปีที่พิมพ์ และใส่เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นเอกสารแต่ละเรื่อง
                         2)  ให้เรียงปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามาก และให้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นเอกสาร
แต่ละเรื่อง เพื่อแสดงวิวัฒนาการของเรื่องที่ศึกษา 

                              กรณีที่อ้างเอกสารหลายชื่อเรื่อง ที่มีผู้แต่งเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้อ้างชื่อผู้ที่แต่งเป็นภาษาไทยจนครบก่อน จึงตามด้วยชื่อผู้ที่แต่งเป็นภาษาต่างประเทศ
                       การอ้างเอกสารที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
                         1)  ให้ลงชื่อเรื่องได้เลย เช่น วารสารวิทยาศาสตร์ โรงเรียน… (2552: 25) …
                         2)  หากมีผู้เป็นบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม ให้ลงชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวม เช่น
                              …(สุวิมล จรูญโสตร์, ผู้รวบรวม, 2552: 52-70) …(Anderson, ed., 1980)
                              …(Wonder, comp., 2001: 30)

                     •  การอ้างหนังสือแปล ให้ระบุผู้เขียนที่เป็นเจ้าของเรื่อง ถ้าไม่ทราบจึงระบุชื่อผู้แปล  

                         เช่น…(สุวิมล จรูญโสตร์, ผู้แปล, 2552: 52-70)
                       การอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับ แต่เป็นการอ้างต่อ ให้ระบุนามผู้แต่งของเอกสารทั้งสองรายการ โดยระบุนามผู้แต่งและปีที่พิมพ์ของเอกสารอันดับแรก ตามด้วยคำว่า อ้างถึงใน หรือ cited inแล้วระบุนามผู้แต่งเอกสารอันดับรองและปีที่พิมพ์
                        ….(พรชัย อินทร์ฉาย, 2549: 20 อ้างถึงใน คงนิตา เคยนิยม, 2552: 50) ……
                        ถ้าเอกสารอันดับรองไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์ของเอกสารอันดับแรก ให้เขียนว่า
                        ….(พรชัย อินทร์ฉาย อ้างถึงใน คงนิตา เคยนิยม, 2552: 50) ……
                        ….(Kate, cited in Charley, 2005: 50) ……

                        ถ้ากล่าวถึงนามผู้แต่งเอกสารอันดับแรกในเนื้อหาอยู่แล้วก็ลงแต่ปีที่พิมพ์และเลขหน้า (ถ้ามี)ของเอกสารอันดับแรก และใส่ชื่อเอกสารอันดับรองไว้ในวงเล็บ ( ) เช่น
                        พรชัย อินทร์ฉาย ได้กล่าวถึง… (2549: 20 อ้างถึงใน คงนิตา เคยนิยม, 2552: 50) …
                        เรื่อง The Journals of Science, 2003-2005 (Lily, 2009: 50) ได้ศึกษาแล้วพบว่า… 

                 3)  การอ้างที่มาของตารางและภาพ
                      การเขียนชื่อผู้แต่งให้ใช้หลักการเดียวกับการเขียนอ้างแบบตามท้ายข้อความในเนื้อเรื่อง ตามด้วยวงเล็บปีที่พิมพ์ เช่น
                      ตารางที่ 1 ......................................................................ที่มา: Rosy และคณะ (2003)
 



                 4)  การอ้างที่มาของภาพ 


ภาพที่ 1 ........................................................
ที่มา: Nileson และ Willma (2006)