ค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานฯ ตอนที่ 1

             

                   รูปแบบการพิมพ์รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์



                                                 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
                                                                จัดทำโดย
                 สาขาโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
               สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ


................................................................................................................................................................................................................................


รูปแบบทั่วไป (format)
     • ใช้กระดาษสีขาว 80 แกรม ขนาดมาตรฐาน A4 (ขนาด 8 1/4x11 3/4 นิ้ว) ในการพิมพ์รายงาน
     • พิมพ์หน้าเดียวด้วยตัวพิมพ์สีดำ ตัวอักษรแบบ TH Sarabun แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
     • ชื่อบท เริ่มต้นในทุกบท ให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรแบบ TH Sarabun ตัวหนา ขนาด 22 จุด
     • หัวข้อใหญ่ในแต่ละบทให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรแบบ TH Sarabun ตัวหนา ขนาด 18 จุด
     • หัวข้อรองในแต่ละบทให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรแบบ TH Sarabun ตัวหนา ขนาด 16 จุดการเว้นริม

ขอบกระดาษ (margination)
     • เว้นที่ว่างจากขอบกระดาษด้านซ้ายมือและด้านบน ห่างจากขอบกระดาษ 1.5 นิ้ว
     • เว้นที่ว่างจากขอบกระดาษด้านขวามือ และด้านล่าง ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้วทุกหน้า การเว้นห่างจากขอบกระดาษให้วัดจากขอบกระดาษถึงเลขหน้า

การเว้นระยะพิมพ์ (spacing)
     • กรณีพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ไม่มีสูตรหรือสมการ ให้กำหนดระยะพิมพ์ระหว่างบรรทัด (line spacing) เป็นแบบ 1 เท่า (single)
     • กรณีพิมพ์ตัวอักษรสลับกับการพิมพ์สูตรหรือสมการ ให้กำหนดระยะพิมพ์ระหว่างบรรทัด (line
spacing) เป็นแบบ 1.5 เท่า (1.5 lines)
     • หลังเครื่องหมายจุลภาค (, comma) เครื่องหมายอัฒภาค (; semicolon) เครื่องหมายทวิภาค หรือมหัพภาคคู่ หรือจุดคู่ (: colon) และหลังชื่อย่อ ให้เว้นหนึ่งช่วงตัวอักษร
     • หลังเครื่องหมายมหัพภาค (. fullstop/ period/ point) เครื่องหมายปรัศนีย์ (? question mark) และเครื่องหมายอัศเจรีย์ (! exclamation mark) ให้เว้นสองช่วงตัวอักษร

การลำดับหน้า (pagination)
     • ส่วนนำ การลำดับหน้าในส่วนนำทั้งหมด ให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลำดับพยัญชนะในภาษาไทย สำหรับรายงานภาษาไทย (เริ่มพิมพ์ตัวอักษร ก ที่หน้าบทคัดย่อ) และใช้เลขโรมันพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กสำหรับรายงาน

ภาษาอังกฤษ (เริ่มพิมพ์เลข i ที่หน้าบทคัดย่อ)
     • ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนอ้างอิง การลำดับหน้าในสองส่วนนี้ให้ลำดับหน้าโดยการพิมพ์หมายเลข 2 3 4 ... ต่อเนื่องกันตลอดทุกหน้าจนจบเล่ม ยกเว้นหน้าแรกของทุกบท หน้าแรกของรายการอ้างอิง และหน้าแรกของภาคผนวก ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้ากำกับ แต่ให้นับจำนวนหน้ารวมไปด้วย
     • ตำแหน่งการพิมพ์เลขหน้าให้พิมพ์ไว้ที่กึ่งกลาง ท้ายหน้ากระดาษของแต่ละหน้า ห่างจากขอบกระดาษด้านล่าง 1 นิ้ว และไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมายใดๆ ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังตัวอักษรหรือตัวเลขลำดับหน้า ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด ในกรณีที่จำเป็นต้องพิมพ์ตามความยาวของหน้ากระดาษ ให้พิมพ์หมายเลขลำดับหน้าไว้ในตำแหน่งเดียวกับหน้าอื่นๆ

การพิมพ์ส่วนต่างๆ
      

1. ส่วนนำ
         1.1 ปกนอก (cover) พิมพ์ภาพและข้อความ ไว้กลางหน้ากระดาษเรียงตามลำดับ ดังนี้
               • ภาพตราโรงเรียนขนาด 1.5 นิ้ว x1.5 นิ้ว วางขอบบนของภาพห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว
               • พิมพ์คำว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ โครงงานคณิตศาสตร์ หรือโครงงานคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด ห่างจากขอบล่างของภาพตราโรงเรียน 1 บรรทัด
               • พิมพ์ชื่อเรื่องโครงงาน ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • พิมพ์คำว่า โดย ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 18 จุด
               • พิมพ์ชื่อนักเรียนผู้ทำโครงงาน ระบุคำนำหน้า ชื่อ นามสกุล หากมีผู้ทำโครงงานหลายคนต้องลงชื่อทุกคน ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 18 จุด
               • พิมพ์ข้อความ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ว 30291 โครงงานวิทยาศาสตร์ 2 หรือค 30299 โครงงานคณิตศาสตร์ 2 หรือ ง 30299 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ของ สสวท. ชื่อโรงเรียน.... ภาคเรียนที่ ... ชั้นมัธยมศึกษาปีที่... ปีการศึกษา ..... ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 18 จุด ควรจัดเรียงข้อความให้กระจายอยู่บนปก ได้ระยะที่สวยงาม และเว้นระยะห่างให้สมดุล
         

         1.2 ปกใน (title page) ใช้กระดาษสีขาว 80 แกรม ขนาดมาตรฐาน A4 พิมพ์ภาพและข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเรียงตามลำดับ ดังนี้
               • ภาพตราโรงเรียนขนาด 1.5 นิ้ว x1.5 นิ้ว วางขอบบนของภาพห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว
               • พิมพ์คำว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ โครงงานคณิตศาสตร์ หรือโครงงานคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวอักษรหนาสีดำขนาด 22 จุด ห่างจากขอบล่างของภาพตราโรงเรียน 1 บรรทัด
               • พิมพ์ชื่อเรื่องโครงงาน ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • พิมพ์คำว่า โดย ด้วยตัวอักษรตัวปกติขนาด 18 จุด
               • พิมพ์ชื่อนักเรียนผู้ทำโครงงาน ระบุคำนำหน้า ชื่อ นามสกุล หากมีผู้ทำโครงงานหลายคนต้องลงชื่อทุกคน ใช้ตัวอักษรตัวปกติขนาด 18 จุด
               • พิมพ์คำว่า ครูที่ปรึกษา 1 บรรทัด และพิมพ์ชื่อครูที่ปรึกษาไว้ในบรรทัดถัดไป ใช้ตัวอักษรตัวปกติขนาด 18 จุด
               • พิมพ์คำว่า อาจารย์ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัย/ หน่วยงาน/ ที่ปรึกษาพิเศษ 1 บรรทัด และพิมพ์ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาไว้ในบรรทัดถัดไป โดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ ด้วยตัวอักษรตัวปกติขนาด 18 จุดควรจัดเรียงข้อความให้กระจายอยู่บนปก ได้ระยะที่สวยงาม และเว้นระยะห่างให้สมดุล


         1.3 บทคัดย่อ (abstract)
               • พิมพ์คำว่า บทคัดย่อ กลางหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด พิมพ์เนื้อความของบทคัดย่อความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด
         1.4 กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement)
               • พิมพ์คำว่า กิตติกรรมประกาศ กลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด พิมพ์เนื้อความ ความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด
               • กรณีเป็นผู้ทำโครงงานคนเดียว ให้เว้น 2 บรรทัด แล้วพิมพ์ชื่อและชื่อสกุลของผู้ทำโครงงานห่างจากบรรทัดสุดท้ายของข้อความ เยื้องไปทางด้านขวาโดยไม่ต้องระบุวันที่ กรณีทำหลายคน ไม่ต้องลงชื่อ

         1.5 สารบัญ (table of contents)
               • พิมพ์คำว่า สารบัญ กลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด พิมพ์คำว่า หน้า ชิดริมด้านขวาของกระดาษ และเว้น 1 บรรทัด เพื่อพิมพ์รายการแรก
               • แสดงบัญชีการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นบท โดยระบุเลขที่บทและชื่อบทพร้อมหมายเลขหน้าตามที่ปรากฏในรายงานและส่วนอื่นๆ ยกเว้นหน้าปกในและหน้าสารบัญ โดยพิมพ์คำว่า บทที่ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ชิดขอบด้านซ้าย ชื่อบทอยู่ห่างจากหมายเลขบทสองช่วงตัวอักษร หากต้องการแสดงรายการหัวข้อภายในบทให้พิมพ์รายการหัวข้อตรงกับชื่อบท โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย – ข้างหน้า การแสดงรายการภาคผนวกให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด

               สารบัญตาราง (list of tables)
               • พิมพ์คำว่า สารบัญตาราง กลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด แล้วพิมพ์คำว่า ตาราง ห่างจากริมขอบกระดาษซ้ายมือหนึ่งนิ้วครึ่ง แล้วพิมพ์คำว่าหน้า ในแนวเดียวกัน ห่างจากขอบกระดาษขวามือหนึ่งนิ้ว และเว้น 1 บรรทัด เพื่อพิมพ์รายการแรก
               • แสดงบัญชีตารางโดยระบุหมายเลขลำดับตารางอยู่ตรงกลางของคำว่าตารางข้างบน เว้นระยะพิมพ์สองช่วงตัวอักษร แล้วพิมพ์ชื่อตาราง หรือคำอธิบายตาราง พิมพ์หมายเลขหน้าให้ตรงกับคำว่า หน้า 
               การให้หมายเลขตาราง อาจเรียงหมายเลขลำดับตาราง ตั้งแต่ตารางแรกจนถึงตารางสุดท้ายในรายงาน หรือเรียงหมายเลขลำดับตารางแยกออกเป็นบทๆ ไป การพิมพ์ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด

               สารบัญภาพ (list of figures)
               • พิมพ์คำว่า สารบัญภาพ กลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด แล้วพิมพ์คำว่าภาพที่ ห่างจากริมขอบกระดาษซ้ายมือหนึ่งนิ้วครึ่ง แล้วพิมพ์คำว่าหน้า ในแนวเดียวกันห่างจากริมขอบกระดาษขวามือหนึ่งนิ้ว และเว้น 1 บรรทัด เพื่อพิมพ์รายการแรก
               • แสดงบัญชีภาพประกอบโดยระบุหมายเลขลำดับภาพ ชื่อภาพหรือคำอธิบายภาพและหมายเลขหน้า ตามที่ปรากฏในโครงงานให้หมายเลขลำดับภาพอยู่ตรงกลางของคำว่า ภาพ หมายเลขหน้าตรงกับคำว่าหน้า ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด
               การให้หมายเลขภาพ อาจเรียงหมายเลขลำดับภาพ ตั้งแต่ภาพแรกจนถึงภาพสุดท้ายในรายงาน หรือเรียงหมายเลขลำดับภาพแยกออกเป็นบทๆ ไป

         1.6 อักษรย่อและสัญลักษณ์ (abbreviations and symbols) ถ้ามี
               • พิมพ์คำ ว่า อักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ หรืออักษรย่อและสัญลักษณ์แล้วแต่กรณีไว้กลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด
               • เว้น 1 บรรทัด พิมพ์ข้อความบรรทัดแรกของอารัมภบท (ถ้ามี) ถ้าไม่มีอารัมภบทให้พิมพ์คำว่าสัญญลักษณ์ไว้ชิดริมซ้ายมือ และพิมพ์คำว่า คำอธิบาย ไว้ในแนวเดียวกัน ในระยะห่างที่เหมาะสม
               • เว้น 1 บรรทัด แสดงบัญชีอักษรย่อและสัญลักษณ์พร้อมคำอธิบาย ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด


ขอขอบพระคุณ ข้อมูลจาก......สาขาโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) กระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น